วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การประกวดดนตรีไทย


                  การจัดประกวดดนตรีไทย เพื่อเยาวชนดนตรีเป็นเวทีที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนในการส่งเสริมให้มีการเเสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ช่วยให้เยาวชนได้ฝึกการใช้สมาธิ การคิด การตัดสินใจ และการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้า นับเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ที่มีคุณค่า อันเป็นการทำให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข และได้พัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียน และการดำเนินชีวิต จึงนับว่ามีส่วนส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมของไทยได้เป็นอย่างดี  และเสริมสร้างพัฒนาทักษะวิชาชีพสู่มาตรฐานสากลโดยใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในสาขาวิชาชีพ ให้ทันสมัยต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน

                  ด้วยเอกลักษณ์ของการประกวด ที่เปิดรับเครื่อง
 
ดนตรีทุกชนิด รวมทั้งการขับร้อง โดยกำหนดเพลงหรือไม่
 
จำกัดเพลงในการประกวด จึงถือได้ว่าเป็นการประกวดดนตรีที่
 
เปิดกว้างสำหรับเยาวชน โดยมีหลักการตัดสินที่มุ่งเน้นความ
 
ไพเราะ เเละความสามารถในการเเสดงออกซึ่งศิลปะการเล่น
 
ดนตรีของผู้ประกวดเป็นสำคัญ

 
 
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกวด

เครื่องดนตรีไทย ทุกประเภท เช่น แคน โปงลาง ขลุ่ย ระนาด ฆ้องวง ซอ ปี่ กระจับปี่ จะเข้ ขิม และขับร้อง

เครื่องดนตรีสากล ทุกประเภท ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล กีต้าร์ เปียโน ฟลุ้ต คลาริเนต แซกโซโฟน ทรัมเป็ต และขับร้อง

เครื่องดนตรีพื้นบ้าน แต่ละภาค  ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้

 
การตัดสิน

ทำนองเพลง    จังหวะ  วิธีการบรรเลง  ความไพเราะและอารมณ์ของเพลง  บุคลิกภาพและการแต่งกาย

 
อุปกรณ์การแข่งขัน

การแข่งขันผู้เข้าประกวดเป็นผู้เตรียม ซึ่งมีความมานะขนย้ายกัน ด้วยพละกำลังของนักสู้  จิตใจมุ่งมั่นที่สั่งสมมาจากความยากลำบาก มานะ สมาธิ ความอดทน เพื่อฝึกปฏิบัติดนตรีให้เป็นเลิศและมาวัดดวง วัดฝีมือกันในวันประกวด  บางครั้งก็อดสงสัยว่า..เพื่อเงินรางวัล...  เพื่อศักดิ์ศรี ..หรือเพื่อสิ่งใด  ผู้ฝึกหัดหรือครูผู้ฝึกซ้อมต้องอธิบาย ชี้แจงให้ชัดเจน

 
การประกวดและการตัดสิน
- ความถูกต้องของทำนองเพลง- ความถูกต้องของจังหวะ - เทคนิควิธีการบรรเลง- ความไพเราะและอารมณ์ของเพลง บุคลิกภาพและการแต่งกาย

 

 
ครูผู้สอนดนตรีหรือผู้ควบคุมวงควรอธิบายและชี้แจงให้กับนักเรียนหรือผู้บรรเลงเข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น
ก่อนการประกวด เพื่อให้เข้าใจในความมีน้ำใจนักกีฬา ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ แต่เพียงเพื่อการอนุรักษ์
วัฒนธรรมดนตรีให้คงอยู่คู่ชาติ ซึ่งนับว่า เป็นความสำเร็จทางอ้อม ของรัฐบาลที่สามารถปลูกฝัง ปลูก
จิตสำนึก ให้เยาวชน รักษาความเป็นชาติได้โดยไม่รู้ตัว

 
ผู้เขียน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประกวดดนตรีไทย จะดำรงอยู่คู่ชาติ คู่การศึกษาไทยต่อไป เพียงแต่สิ่งที่ผู้เขียนเป็นห่วงนั่นคือ ความถูกต้อง ความเข้าใจที่แท้จริง สำหรับเยาวชนดนตรีที่มีต่อดนตรีและการประกวดดนตรี  ต้องมีทิศทางในทางบวก  เพื่อให้การอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีคงอยู่คู่ชาติต่อไปและสามารถเผยแพร่ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ มีแน่นะคะ...ต่อไปเมื่อ ASEAN ได้เข้ามาเยือน  คงต้องมีการประกวดดนตรีไทยและดนตรีนานาชาติด้วยค่ะ...